ความหมายของการบัญชี
การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ทางการเงินที่เกิดขึ้นแต่ละวัน
2. การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกหมวดหมู่
3. การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการแยกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดบัญชีหนึ่ง
4. การวิเคราะห์และแปรความหมาย คือ การนำข้อมูลที่สรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปแบบร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์นั้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2.1.6.2 ประเภทการบัญชี
1. การบัญชีการเงิน เป็นการบัญชีที่จัดทําขึ้น เพื่อรายงานข้อมูลเกี่ยวกับฐานะและผลการดําเนินงานในอดีตต่อบุคคลภายนอกกิจการ อันได้แก่ เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นผู้ลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล และผู้สนใจอื่น ๆ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ จึงต้องมีการวางกฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติทางการบัญชี โดยการใช้หลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป
2. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทําขึ้น โดยมุ่งเน้นเสนอต่อหน่วยงานภายในหรือบุคคลภายใน ซึ่งจะมีลักษณะการให้ข้อมูลทางการเงินเฉพาะเจาะจง ในส่วนที่หน่วยงานหรือบุคคลภายในนั้นต้องการ
2.1.6.3 หลักการบัญชี
1. สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่มีอยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต รายการบัญชีสินทรัพย์
2. หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มี
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
3. ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ
หลังจากการหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ส่วนของเจ้าของ ได้แก่ ทุนที่ออกและสํารองต่าง ๆ ส่วนของ
เจ้าของให้แยกแสดงเป็นทุนที่ได้รับ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กําไรสะสมที่จัดสรรแล้วและยังไม่ได้จัดสรร และอื่น ๆ
4. รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในงวดบัญชีในรูปกระแสเข้า หรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของรายได้ดังกล่าว รวมถึงรายการกําไร และรายได้ที่เกิดจากการดําเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ รายได้ดังกล่าว เช่น รายได้จากการขาย รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ดอกเบี้ย รายได้เงินปันผล รายได้ค่าเช่า เป็นต้น ตาวัตถุประสงค์ทางการค้าตามปกติของกิจการ
5. ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในระยะเวลาบัญชี
ในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของ